วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2552

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา
ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๓
"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า
"จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป คำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ "จาตุร" แปลว่า ๔ "องค์" แปลว่า ส่วน "สันนิบาต" แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ ๔" กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ๑. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น๓. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์๔. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ การปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ การทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืน จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม ๓ จบ จากนั้นกล่าวคำ ถวาย ดอกไม้ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดิน เวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ ๓ รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัด เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธี

( www. dhammathai.org.com )

วันรัฐธรรมนูญ

วันรัฐธรรมนูญ


10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทยเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ใช้กันมาเป็นเวลา 700 ปีเศษ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ


( www.educatepark.com)

วันสงกรานต์

ความหมายของ สงกรานต์

"สงกรานต์" เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่าผ่าน หรือเคลื่อนย้ายเข้าไป หมายถึงเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่งทุกๆ เดือน ยกเว้นเมื่อย้ายจากราศีมีนสู่ราศีเมษ จะเรียกชื่อพิเศษว่า "มหาสงกรานต์" เพราะเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามความเชื่อของอินเดียฝ่ายเหนือ ไทย รับคติความเชื่อเกี่ยวกับวันขึ้นปีใหม่นี้มาใช้เช่นกัน แต่จะเรียกว่า "สงกรานต์" เท่านั้น

ความหมายของวันปีใหม่

ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่

ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน
ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวง
อาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ

ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก


( www.zabzaa.com )

กลอนปีใหม่

ฉลูใหม่ให้ความดีศรีแก่ชาติ ดั่ววัววาดศิลปะให้เป็นศรีแม้ปีชวดจะเป็นอัปรับสิ่งไม่ดี แต่ปีนี้จะทำให้สว่างไสวแม้ปีก่อนทำอะไรไม่สำเร็จ กลายเป็นเคล็ดขัดยอกฟกฟอกช้ำใจแม้ปีก่อนมีเรื่องชั่วตัวจัญไร แต่สุดท้าย ขอกลับกายให้เป็นดีแม้การเมืองมีแต่เรื่องร้ายร้าย ความเสียหายมันมากถึงเพียงนี้มีการแบ่งพวกพรรคเป็นหลักสี เห็นว่ามีเหลืองแดงแรงตามกันมีเอาเลือดเอาเนื้อมาสาดใส่ เหตุไฉนต้องทะเลาะด้วยกันนั้นมีการฆ่าดุเดือดเชือดเฉือนฟัน ในตัวฉันมันไม่สบายใจแต่ปีฉลูคู่ฟ้ามหาสวรรค์ มาจากฟ้าสู่ดินส่องไสวเอาสิ่งชั่วมืดไปให้ไกลไกล เอาสิ่งใหม่มาสู่พื้นโลกาเอาสิ่งดีทั้งอดีต ปัจจุบัน มาสร้างสรรค์ให้ดีเทียบชั้นฟ้าให้มีความสิริมงคลทุกชีวา ให้นำพาแต่ความสุขทุกข์ไม่มีสุดท้ายนี้ขออวยพรให้ทุกคน มหาชนให้สุขสันต์สวัสดีอย่าแบ่งแยกแบ่งปีกแบ่งซีกสี อย่าไปมีชนชั้นและวรรณาให้ทุกคนสำเร็จที่ท่านหวัง ให้มันดั่งขออะไรสมใจหนาขอให้มีความเกษมสุขทุกเวลา ให้มีผาสุขกันทุกวันเอย
( www.poem.meemodel.com )

วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551

คำขวัญวันเด็กอดีต

พ.ศ. 2499 - จอมพล ป.พิบูลสงคราม จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม
พ.ศ. 2502 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
พ.ศ. 2503 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
พ.ศ. 2504 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
พ.ศ. 2505 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
พ.ศ. 2506 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
พ.ศ. 2507 ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
พ.ศ. 2508 - จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
พ.ศ. 2509 - จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
พ.ศ. 2510 - จอมพล ถนอม กิตติขจร อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
พ.ศ. 2511 - จอมพล ถนอม กิตติขจร ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
พ.ศ. 2512 - จอมพล ถนอม กิตติขจร รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ

( จาก www.zabzaa.com )

ประวัตินายชวน หลีกภัย


ประวัติ
นายชวน หลีกภัย เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๘๑ ที่ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
จบการศึกษาระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนตรังวิทยา จังหวัดตรัง แล้วเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนศิลปศึกษาแผนกจิตรกรรมและประติมากรรม (เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร) และได้สมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ สำเร็จเป็นนิติศาสตร์บัณฑิต เมื่อปี ๒๕๐๕ และสอบได้เนติบัณฑิตไทย ในสมัยที่ ๑๗ ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ ปี ๒๕๒๘ และดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี ๒๕๓๐
นายชวน หลีกภัย เริ่มงานอาชีพทนายความที่สำนักงานทนายความ ช.ชนะสงคราม หลังสำเร็จการศึกษาและเบนเข็มมาสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จังหวัดตรัง เมื่อปี ๒๕๑๒ ได้รับเลือกตลอดมาจนปัจจุบันรวม ๑๑ สมัย คือปี ๒๕๑๒, ๒๕๑๘, ๒๕๑๙, ๒๕๒๒, ๒๕๒๖, ๒๕๒๙, ๒๕๓๑, ๒๕๓๕ (๒สมัย), ๒๕๓๘, ๒๕๓๙ ในงานการเมืองเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและประธานสภาผู้แทนราษฎร
เริ่มด้วยตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรมในปี ๒๕๑๘ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปี ๒๕๑๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปี ๒๕๒๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปี ๒๕๒๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปี ๒๕๒๕ - ๒๕๒๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี ๒๕๒๖ - ๒๕๒๙ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ปี ๒๕๒๙ - ๒๕๓๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปี ๒๕๓๑ - ๒๕๓๒ รองนายกรัฐมนตรี ปี ๒๕๓๒ - ๒๕๓๓ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี ๒๕๓๓
นอกจากตำแหน่งทางการเมือง นายชวน หลีกภัย ยังเข้ารับตำแหน่งอื่นๆ อีกดังนี้ เป็นอุปนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาจารย์พิเศษแผนกนิติเวช คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๓๕ พรรคการเมือง ๕ พรรค อันประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์ พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม พรรคกิจสังคมและพรรคเอกภาพ ได้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลและสนับสนุนให้นายชวน หลีกภัย ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายชวน หลีกภัย ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๐ ของประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๓๕ การดำเนินการตามนโยบายที่สำคัญที่รัฐบาลนี้เน้นเป็นพิเศษ (ในช่วงนั้น) ได้แก่ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ การกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบท ซึ่งเน้นการกระจายรายได้กระจายโอกาส และกระจายอำนาจในการปกครองตนเองให้กับท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลซึ่งมีนายชวนหลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงปี ๒๕๓๕ ถึงกลางปี ๒๕๓๘ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของการดำเนินการตามนโยบายจัดหาที่ดินทำกินให้กับราษฎรให้เฉพาะกรณีการออกเอกสารสิทธิที่เรียกว่า ส.ป.ก. ๔ - ๐๑ ปัญหานี้กลายเป็นประเด็นที่ทำให้รัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก จนในที่สุด ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๘ และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ผลการเลือกตั้งครั้งนั้น นายบรรหาร ศิลปอาชา ในฐานะที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีสมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้งมากที่สุด ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

( จาก www.webindex.sanook.com )